ระบบประปาเป็นส่วนสำคัญของสิ่งปลูกสร้างเกือบทุกรูปแบบ หรือ การทำธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร เพราะช่วยส่งน้ำไปยังจุดต่างๆ เพื่อการใช้งานในตามจุดประสงค์ของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำ อาบน้ำ รดน้ำต้นไม้ หรือวัตถุประสงค์อื่นๆ ดังนั้น การเลือกท่อประปาที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ระบบน้ำทำงานได้ดี ทนทาน และปลอดภัย บทความนี้จะพาไปรู้จักกับชนิดของท่อประปา และ วิธีการเลือกใช้งานให้เหมาะสมที่สุด
ท่อประปาคืออะไร?
ท่อประปาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประปาที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำจากแหล่งจ่ายน้ำไปยังจุดต่างๆ ภายในบ้านหรืออาคาร เช่น ก๊อกน้ำ ฝักบัว เครื่องซักผ้า และอุปกรณ์สุขภัณฑ์ต่างๆ โดยท่อประปาผลิตจากวัสดุหลายประเภท เช่น พลาสติก เหล็ก และทองแดง ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป
การเลือกท่อประปาที่เหมาะสมต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น
- แรงดันน้ำ: ควรเลือกท่อที่ทนแรงดันได้ดี เพื่อป้องกันการแตกหรือรั่วซึม
- อุณหภูมิของน้ำ: หากเป็นน้ำร้อนควรเลือกท่อที่ทนความร้อนได้
- สถานที่ติดตั้ง: เช่น บนดิน ใต้ดิน หรือภายนอกอาคาร
- งบประมาณ: ควรเลือกท่อที่มีราคาคุ้มค่าและเหมาะสมกับการใช้งาน
- วิธีการติดตั้ง: บางชนิดติดตั้งง่าย บางชนิดต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญ
ท่อประปามีกี่ชนิด?
- ท่อ PVC (Poly Vinyl Chloride)
ท่อ PVC เป็นท่อที่ผลิตจากพลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด์ มีการผสมสารเพิ่มความยืดหยุ่น (Plasticizer) เพื่อให้ท่อมีความยืดหยุ่นและทนทานต่อแรงดันน้ำ นิยมใช้ในระบบน้ำประปาภายในบ้านและอาคาร- คุณสมบัติ:
- น้ำหนักเบา ขนย้ายและติดตั้งได้ง่าย
- ไม่เกิดสนิมและไม่ผุกร่อน
- มีความยืดหยุ่น สามารถดัดโค้งได้
- ราคาถูกกว่าวัสดุประเภทอื่น
- ข้อเสีย:
- เปราะบาง ไม่ทนต่อแรงกระแทก
- ไม่ทนความร้อนสูง หากโดนความร้อนจัดอาจเกิดการบิดงอได้
- ไม่เหมาะกับการใช้งานภายนอกอาคารที่โดนแสงแดดเยอะๆ เพราะจะทำให้ท่อกรอบและแตกหักง่าย
- สีของท่อ PVC และการใช้งาน:
- สีฟ้า: ใช้ในระบบน้ำดี (น้ำประปา) และน้ำเสีย
- สีเหลืองและขาว: ใช้ร้อยสายไฟ เพราะทนความร้อนได้ดี
- สีเทา: ใช้ในงานเกษตร เช่น ระบบน้ำหยด และใช้เป็นท่อน้ำทิ้ง
- คุณสมบัติ:
- ท่อ PPR (Polypropylene Random Copolymer)
ท่อ PPR ผลิตจากพลาสติกโพลีโพรพีลีนชนิดสุ่ม (Random Copolymer) ซึ่งมีความแข็งแรงและทนทานสูง ใช้ได้ทั้งระบบน้ำร้อนและน้ำเย็น โดยมีความยืดหยุ่นดี ไม่กรอบแตกง่าย นิยมใช้ในงานประปาที่ต้องการความคงทนและยาวนาน- คุณสมบัติ:
- ทนต่อแรงดันน้ำและอุณหภูมิสูงได้ดี
- ไม่มีปัญหารั่วซึมระหว่างข้อต่อ เพราะเชื่อมต่อด้วยการหลอมความร้อน ทำให้ท่อผสานเป็นเนื้อเดียวกัน
- ไม่เป็นสนิม และไม่ผุกร่อน
- ข้อเสีย:
- ไม่ทนรังสียูวี ไม่ควรติดตั้งกลางแจ้งที่โดนแดดโดยตรง
- หากชำรุดเสียหาย การรีไซเคิลทำได้ยาก
- การใช้งานที่เหมาะสม:
- ระบบน้ำร้อนในห้องน้ำหรือห้องครัว
- ระบบน้ำเย็นในบ้านและอาคาร
- งานที่ต้องการความแข็งแรงและความทนทานสูง
- คุณสมบัติ:
- ท่อ PE (Polyethylene)
ท่อ PE ผลิตจากพลาสติกโพลีเอทิลีน มีความยืดหยุ่นสูงและทนต่อแรงกระแทก นิยมใช้ในระบบน้ำประปาฝังใต้ดิน เพราะทนต่อการทรุดตัวของดินและแรงกดได้ดี- คุณสมบัติ:
- ทนแรงกระแทกและแรงกดได้ดี เหมาะกับงานฝังดิน
- น้ำหนักเบา ขนย้ายและติดตั้งง่าย
- มีความยืดหยุ่นสูง ไม่แตกหักง่าย
- ข้อเสีย:
- ไม่ทนความร้อนสูง ไม่เหมาะกับระบบน้ำร้อน
- หากโดนความร้อนมากเกินไป ท่อจะขยายตัวและเกิดการย้วย
- การใช้งานที่เหมาะสม:
- ระบบน้ำประปาฝังใต้ดิน
- ระบบน้ำในงานเกษตร เช่น ระบบน้ำหยด
- ระบบน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง
- คุณสมบัติ:
- ท่อไซเลอร์ (Syler PE-Lined Steel Pipe)
ท่อไซเลอร์เป็นท่อเหล็กบุพีอี มีความแข็งแรงสูงและทนทานต่อแรงดันน้ำ เหมาะกับงานที่ต้องการความทนทานและความปลอดภัยสูง- คุณสมบัติ:
- แข็งแรง ทนต่อแรงดันและแรงกระแทก
- ทนการกัดกร่อนได้ดี ไม่เป็นสนิมง่าย
- ปลอดสารพิษ เหมาะสำหรับน้ำดื่ม
- ข้อเสีย:
- น้ำหนักมาก ติดตั้งยาก
- มีขนาดจำกัด ไม่หลากหลายเท่าท่อชนิดอื่น
- คุณสมบัติ:
- ท่อกัลวาไนซ์ (Galvanized Pipe)
ท่อกัลวาไนซ์ทำจากเหล็กที่เคลือบสังกะสี ป้องกันการเกิดสนิมได้ดีและมีความแข็งแรงสูง เหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรงและความทนทาน- คุณสมบัติ:
- แข็งแรง ทนแรงกระแทกและแรงกดได้ดี
- ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ไม่เป็นสนิมง่าย
- ทนความร้อนได้สูง
- ข้อเสีย:
- ราคาสูง
- หากติดตั้งใต้ดิน ตรวจสอบความเสียหายได้ยาก
- คุณสมบัติ:
สรุปวิธีเลือกท่อประปาให้เหมาะกับบ้าน
- น้ำดี-น้ำเสีย: ใช้ท่อ PVC สีฟ้า
- น้ำร้อน: ใช้ท่อ PPR ที่ทนความร้อนได้ดี
- ฝังใต้ดิน: ใช้ท่อ PE ที่ยืดหยุ่นและทนแรงกด
- งานที่ต้องการความแข็งแรงสูง: เลือกท่อไซเลอร์หรือกัลวาไนซ์
สรุปแล้ว เราควรเลือกท่อประปาที่เหมาะสมกับงานและวัตกุประสงค์ของผู้ใช้ เพื่อให้ระบบน้ำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยาวนาน