เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ประเทศไทยได้กิดแผ่นดินไหวจากจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศเมียนมา โดยตัวเลขการไหวเป็น 8.2 ริกเตอร์และหลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวแล้ว มีอาฟเตอร์ช็อกขนาด 7.1 ริกเตอร์ ความรุนแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเวลากว่า 95 ปีที่ประเทศไทยไม่เคยเจอแผ่นดินไหวหนักขนาดนี้ ครั้งล่าสุดต้องย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2478 ที่จังหวัดน่าน แผ่นดินไหวขนาด 6.5 ริกเตอร์
โดยแผ่นดินไหวสามารถส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคาร โดยเฉพาะผนังที่อาจเกิดรอยร้าวขึ้นหลังเหตุการณ์สั่นสะเทือน หากปล่อยไว้โดยไม่ซ่อมแซม อาจทำให้ปัญหาลุกลามจนกระทบต่อความปลอดภัยของอาคารและผู้อยู่อาศัย
ตรวจสอบรอยร้าว: อันตรายน้อยไปมาก
1. รอยร้าวเส้นผม (Hairline Cracks) – อันตรายต่ำ
✅ ลักษณะ: รอยร้าวขนาดเล็ก บางเท่าเส้นผมหรือบัตรเครดิต
✅ สาเหตุ: เกิดจากการหดตัวของปูนหรือแรงสั่นสะเทือนเล็กน้อยจากแผ่นดินไหว
✅ การซ่อมแซม:
- ใช้ อะคริลิกซีลแลนท์ หรือ ปูนฉาบสำเร็จรูป อุดรอยร้าว
- ทาสีทับเพื่อปกปิดและป้องกันความชื้น
2. รอยร้าวแนวตั้ง (Vertical Cracks) – อันตรายปานกลาง
⚠️ ลักษณะ: รอยร้าวที่ยาวขึ้น-ลงตามแนวตั้งของผนัง
⚠️ สาเหตุ: แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว หรือการทรุดตัวของอาคาร
⚠️ การซ่อมแซม:
- หากรอยร้าวกว้างไม่เกิน 5 มม. สามารถใช้ ซีเมนต์พิเศษสำหรับอุดรอยร้าว
- หากกว้างเกิน 5 มม. หรือยาวมาก ควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้าง
3. รอยร้าวแนวนอน (Horizontal Cracks) – อันตรายสูง
❌ ลักษณะ: รอยร้าวขนานไปกับพื้น (จากซ้ายไปขวา)
❌ สาเหตุ: แรงกดจากแผ่นดินไหว หรือโครงสร้างรับน้ำหนักผิดปกติ
❌ การซ่อมแซม:
- ห้ามปล่อยทิ้งไว้ ควร เรียกผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบโครงสร้างอาคาร
- หากเป็นรอยร้าวขนาดเล็ก อาจซ่อมแซมเบื้องต้นด้วย ซีเมนต์เกราท์ หรือ อีพ็อกซี่
4. รอยร้าวแนวเฉียง (Diagonal Cracks) – อันตรายที่สุด
🚨 ลักษณะ: รอยร้าวเป็นเส้นเฉียง มุม 30° – 70°
🚨 สาเหตุ: ฐานรากของอาคารเคลื่อนตัวอย่างรุนแรง หรือโครงสร้างเกิดการบิดเบี้ยว
🚨 การซ่อมแซม:
- หยุดใช้อาคารทันที และเรียก วิศวกรตรวจสอบโครงสร้าง
- หากพบรอยร้าวแนวเฉียงในหลายตำแหน่ง ควรพิจารณา เสริมความแข็งแรงของอาคาร